ลักษณะ :ปลาในจำพวกปลาหลังเขียวที่พบอาศัยอยู่ในแม่น้ำ ซึ่งมีลำตัวแบนและเกล็ดตามแนวสันท้อง 28 ถึง 30 เกล็ด ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ ริมฝีปากบนมีรอยเว้าเห็นได้เด่นชัดตรงกึ่งกลางและมีจุดสีดำใหญ่หลังช่องเปิดของเหงือก และมีจุดที่ดำที่จางลงไปเรื่อยๆ เรียงเป็นแถวไปตามแนวด้านข้างลำตัว นอกจากนี้ปลาหมากผางยังมีลักษณะพิเศษที่มีซี่เหงือกจำนวนมากถึง 204-316 ซี่ ขนาดลำตัวปลาชนิดนี้จะอยู่ในราวๆ 20-21 เซนติเมตร แต่ปลาตัวผู้จะโตเต็มที่พร้อมผสมพันธุ์ได้เมื่อมีขนาด 12.7 เซนติเมตร
อุปนิสัย:พบอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ตอนกลางลำน้ำตรงบริเวณที่มีความกว้างมากๆ โดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำมูลที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง เชื่อว่าวางไข่ในลำแม่น้ำโขง เพราะเคยมีผู้จับปลาตัวผู้พร้อมจะผสมพันธุ์ได้ในจังหวัดหนองคาย เชื่อว่ากินแพลงค์ตอนเป็นอาหาร เนื่องจากมีซี่เหงือกเป็นจำนวนมาก
ที่อยู่อาศัย:พบอาศัยอยู่ตามลำน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง และในลำแม่น้ำโขง
เขตแพร่กระจาย :ปลาหมากผางนี้จะพบอาศัยอยู่เฉพาะในลุ่มแม่น้ำโขง ในประเทศไทยพบที่จังหวัดหนองคายและที่แม่น้ำมูลที่จังหวัดอุบลราชธานี ในประเทศลาวพบแพร่กระจายกว้างตั้งแต่บริเวณเมืองหลวงพระบางจนถึงปากเซ
สถานภาพ:จัดเป็นปลาเฉพาะถิ่นที่หาได้ยาก แต่ในบางเวลาและในบางท้องที่อาจจะพบชุกชุมมากได้โดยเฉพาะในฤดูฝน
สาเหตุของการใกล้สูญพันธุ์:เนื่องจากเป็นปลาที่มีเขตแพร่กระจายจำกัดอยู่ในบริเวณแม่น้ำโขงที่กั้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว ปลาหมากผางถึงแม้จะมีจำนวนประชากรสูง ก็อาจจะง่ายต่อการถูกทำลายหมดไปโดยสภาพที่ไม่เหมาะสมได้ ประกอบกับข้อมูลเกี่ยวกับชีววิทยา นิเวศวิทยา การย้ายถิ่นตามฤดูกาลและนิสัยการกินอาหารยังไม่ทราบกันดี จึงทำให้ปลาหมากผางจัดเป็นปลาชนิดหนึ่งที่ใกล้สูญพันธุ์ของประเทศไทย
จัดเป็นปลาเฉพาะถิ่นที่หาได้ยาก แต่ในบางเวลาและในบางท้องที่อาจจะพบชุกชุมมากได้โดยเฉพาะในฤดูฝน
สาเหตุของการใกล้สูญพันธุ์:เนื่องจากเป็นปลาที่มีเขตแพร่กระจายจำกัดอยู่ในบริเวณแม่น้ำโขงที่กั้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว ปลาหมากผางถึงแม้จะมีจำนวนประชากรสูง ก็อาจจะง่ายต่อการถูกทำลายหมดไปโดยสภาพที่ไม่เหมาะสมได้ ประกอบกับข้อมูลเกี่ยวกับชีววิทยา นิเวศวิทยา การย้ายถิ่นตามฤดูกาลและนิสัยการกินอาหารยังไม่ทราบกันดี จึงทำให้ปลาหมากผางจัดเป็นปลาชนิดหนึ่งที่ใกล้สูญพันธุ์ของประเทศไทย
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น